ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการอบรมเพิ่มพูนความรู้ทักษะเทคนิคปฏิบัติการทางชีววิทยา

ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการอบรมเพิ่มพูนความรู้ทักษะเทคนิคปฏิบัติการทางชีววิทยา

ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ “อบรมเพิ่มพูนความรู้ทักษะเทคนิคปฏิบัติการทางชีววิทยา” ในวันที่ 13-14 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ณ อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ท่านจะได้รับเนื้อหาที่น่าสนใจ เรื่องการออกแบบการทดลองและสถิติเบื้องต้นสำหรับการทำงานโครงงานวิทยาศาสตร์ การสกัดดีเอ็นเอจากพืชอย่างง่าย และการถ่ายภาพจากกล้องจุลทรรศน์อย่างง่าย รับจำนวนจำกัด 50 ท่านแรกเท่านั้น ค่าลงทะเบียนเพียง 350 บาทเท่านั้้น

1.  ชื่อโครงการ

อบรมเพิ่มพูนความรู้ทักษะเทคนิคปฏิบัติการทางชีววิทยา

2.  หลักการและเหตุผล

การเรียนการสอนในระดับพื้นฐานหรือในระดับมัธยมศึกษานั้นมีความสำคัญยิ่งต่อการต่อยอดทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยจะต้องมีการพัฒนาและเพิ่มเติมทักษะให้แก่ครูผู้สอนและนักศึกษาที่กำลังจะออกไปประกอบวิชาชีพครูทางสาขาชีววิทยา เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะและเทคนิคในการทำปฏิบัติการในสถานศึกษา ซึ่งจะทำให้ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมปฏิบัติการที่สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และได้รับทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างครบถ้วน จากการให้บริการทางวิชาการให้แก่หน่วยงานภายนอกของสาขาวิชาชีววิทยา ทั้งในด้านการจัดแสดงตัวอย่างทางชีววิทยา การจัดแสดงและสาธิตการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ และเทคนิคการเตรียมตัวอย่างเพื่อสอนทางชีววิทยา พบว่าผู้สอนยังไม่สามารถนำตัวอย่างที่มีอยู่ในพื้นที่มาประยุกต์ใช้เพื่อจัดปฏิบัติการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ เนื่องจากขาดเทคนิคในการเตรียมตัวอย่าง การอบรมเพิ่มพูนความรู้ทักษะและเทคนิคปฏิบัติการทางชีววิทยาจะสามารถเพิ่มพูนความรู้ และเทคนิคใหม่ในการจัดทำปฏิบัติการ เพื่อให้ผู้สอนสามารถนำตัวอย่างที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้เพื่อการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนได้อย่างครบถ้วน

3.  วัตถุประสงค์

3.1 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ เทคนิค และทักษะการทำปฏิบัติการทางชีววิทยาให้แก่ครู นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป และนักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยา

3.2 เพื่อแนะแนวทางในการจัดการเรียนการสอน การทำปฏิบัติการให้แก่ครู นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป และนักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยา

4.  ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

4.1  ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

ผู้เข้าอบรมมีความรู้และทักษะในการจัดปฏิบัติการเพิ่มมากขึ้น

4.2  ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

ผู้เข้าอบรมไม่ต่ำกว่า 50 คน และมีผลการประเมินหลังการอบรมมากกว่าก่อนอบรมร้อยละ 80

4.2  ตัวชี้วัดเชิงเวลา

วันที่ 13 – 14 มิถุนายน 2556

4.2  ตัวชี้วัดเชิงต้นทุน

65,820 บาท

5.  ความสอดคล้องกับตัวชี้วัดคุณภาพ สกอ. กพร. และสมศ.

– ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 มีการบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอน

– ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 มีการสำรวจความต้องการของชุมชน หรือภาครัฐ หรือภาคเอกชน หรือหน่วยงานวิชาชีพ เพื่อประกอบการกำหนดทิศทางและการจัดทำแผนการบริการทางวิชาการตามจุดเน้นของสถาบัน

6.  เป้าหมาย

ครูผู้สอนทางชีววิทยา นักศึกษาวิทยาศาสตร์ทั่วไปและนักศึกษาสาขาชีววิทยา จำนวน 50 คน

7.  วันเวลา สถานที่ในการจัดโรงการ

วันที่ 13 – 14 มิถุนายน 2556

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

– ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำเทคนิคทางชีววิทยาไปประยุกต์ใช้ในด้านการจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมได้

– ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ และเทคนิคใหม่ๆ ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติเพิ่มมากขึ้น

9. กำหนดการ

13 มิถุนายน 2556

เวลา กิจกรรม วิทยากร
8.00 – 9.00 น. ลงทะเบียน  
9.00 – 9.30 น. พิธีเปิด  
9.30 – 12.00 น.

บรรยายและปฏิบัติการเรื่องการออกแบบการทดลองและสถิติเบื้องต้นสำหรับการทำงานโครงงานวิทยาศาสตร์

– ความหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์

– ออกแบบการทดลองและทดสอบสมมติฐานทางสถิติ

อ. ศักดิ์ชัย กรรมารางกูร

(วิทยากร)

อ. วีณา จิรัตวรุตกุล ชัยสาร

(ผู้ช่วยวิทยากร)

12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง  
13.00 – 17.00 น. – ปฏิบัติการใช้โปรแกรมสำหรับรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติและการแปลความหมายข้อมูล

อ. ศักดิ์ชัย กรรมารางกูร

(วิทยากร)

อ. วีณา จิรัตวรุตกุล ชัยสาร

(ผู้ช่วยวิทยากร)

14 มิถุนายน 2556

เวลา กิจกรรม/วิทยากร
9.00 – 12.00 น. กลุ่มย่อย 1 วิทยากร กลุ่มย่อย 2 วิทยากร

บรรยายและปฏิบัติการ

– การสกัดดีเอ็นเอจากพืช

-การสกัดดีเอ็นเอจากแบคทีเรีย

ดร.พัชรี หลุ่งหม่าน

(วิทยากร)

ดร.เบญจมาศ หนูแป้น

(ผู้ช่วยวิทยากร)

บรรยายและปฏิบัติการการถ่ายภาพจากกล้องจุลทรรศน์อย่างง่าย

อ. ดอกรัก ชัยสาร

(วิทยากร)

อ. กนกอร ทองใหญ่

(ผู้ช่วยวิทยากร)

12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
13.00 – 16.00 น. กลุ่มย่อย 1 วิทยากร กลุ่มย่อย 2 วิทยากร
บรรยายและปฏิบัติการการถ่ายภาพจากกล้องจุลทรรศน์อย่างง่าย

อ. ดอกรัก ชัยสาร

(วิทยากร)

อ. กนกอร ทองใหญ่

(ผู้ช่วยวิทยากร)

บรรยายและปฏิบัติการ

– การสกัดดีเอ็นเอจากพืช

-การสกัดดีเอ็นเอจากแบคทีเรีย

ดร.พัชรี หลุ่งหม่าน

(วิทยากร)

ดร.เบญจมาศ หนูแป้น

(ผู้ช่วยวิทยากร)

16.30 – 17.00 น. ทำแบบทดสอบหลังการอบรมและพิธีมอบวุฒิบัตร

หมายเหตุ: ผู้เข้าร่วมอบรมจะต้องนำเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊คบุคมาด้วย

ดาวน์โหลดใบสมัคร