ข่าวประชาสัมพันธ์

องค์ประกอบของรายงานวิชาสัมมนาชีววิทยา

องค์ประกอบของรายงานวิชาสัมมนาชีววิทยา

ในการเขียนรายงานสัมมนา ต้องเขียนแต่ละส่วนเรียงลำดับต่อเนื่องไปดังนี้

ชื่อเรื่อง (Title)

  • เพื่อให้ผู้อ่านพิจารณาว่าเป็นเรื่องที่กำลังสนใจหรือเกี่ยวข้องกับ สิ่งที่ตนสนใจ หรือช่วยเพิ่มสิ่งใหม่ๆให้กับตนหรือไม่
  • เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าเป็นเรื่องที่เขียนขึ้นใหม่ไม่ใช่เรื่องที่คัดลอกมาหรือเรื่องแปล
  • ใช้ในการอ้างอิงหากผู้อ่านต้องการนำแนวคิดหรือส่วน ใดๆในสัมมนาไปใช้ รวมทั้งในกรณีที่ผ่านมีข้อแย้งหรือความเห็นอื่น

ชื่อผู้สัมมนา (Author)

  • เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าใครเป็นผู้เขียนและสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้

บทคัดย่อ (Abstract)

  • เพื่อให้ผู้อ่านทราบงานเขียนทั้งหมดอย่างคร่าวๆช่วยให้ผู้อ่านตัดสินใจได้ดีขึ้นว่าควรแก่การพลิกอ่านต่อไปหรือไม่

คำสำคัญ (Keywords)

  • เป็นคำที่แสดงถึงจุดเด่นของเรื่องที่เราเขียน คำสำคัญจะทำให้ทราบถึงประเด็นของรายงานนั้นได้อย่างคร่าวๆ ในปัจจุบัน คำสำคัญ มีความสำคัญต่อการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูล เช่น CD-ROM โดยทั่วๆ ไป คำสำคัญมักจะเขียนต่อจากบทคัดย่อในเอกสารทางวิชาการ ทั่วๆไปมักจะแสดงคำสำคัญไว้ ประมาณ 4-5 คำ

คำนำ (Introduction)

  • ใช้ในการบอกความเป็นมาของการเขียนสัมมนาครั้งนี้
  • ช่วยบอกงานที่เคยทำมามีปัญหาและอุปสรรคอย่างไร
  • บอกวัตถุประสงค์ในการเขียนสัมมนาเรื่องนี้

เนื้อเรื่อง (Body)

  • อธิบายประเด็นย่อยต่างๆที่เกี่ยวข้องมีการวิเคราะห์จัดแยกกลุ่มความคิดในทางเดียวกันและตรงข้ามมีแหล่งอ้างอิงแนวคิดสนับสนุนแต่ละประเด็น โดยรวบรวมสรุปและสังเคราะห์ข้อมูลให้เป็นไปตามสิ่งที่กำลังนำเสนอ

สรุป (Conclusion)

  • สรุปงานเขียนครั้งนี้ได้เด่นชัด โดยสอดคล้องกับชื่อเรื่อง 15

เอกสารอ้างอิง (References)

  • ระบุแหล่งข้อมูลที่นำมาอ้างอิง เชื่อใจได้ว่าไม่ได้เอ่ยขึ้นเองอย่างเลื่อนลอย
  • สามารถนำไปสืบค้นข้อมูลต่อได้ในกรณีที่ผู้อ่านต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มขึ้น

กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgment)

  • เป็นคำขอบคุณให้กับ ผู้ที่ช่วยเหลือ หรืออำนวยความสะดวกแก่เราในการปฏิบัติการเขียนครั้งนี้ ทั้งนี้อาจมีหรือไม่มีก็ได้ โดยทั่วไปนิยมวางไว้ก่อนเอกสารอ้างอิง