ขอเชิญเข้าร่วมการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับปริญญาตรี

ขอเชิญเข้าร่วมการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับปริญญาตรี

สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ขอเชิญนิสิต นักศึกษา และอาจารย์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับปริญญาตรีด้านชีววิทยา ครั้งที่ ๓ ประจำปี 2557 (The 3rd Undergraduate Research Conference on Biology : URCB 2014) ระหว่างวันที่ 10-11 มีนาคม 2557 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 8๐ พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

โดยโครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาชีววิทยา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้นำเสนอผลงานวิจัย ปัญหาพิเศษ หรือโครงงาน และเป็นการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการวิจัยระหว่างนักศึกษาและคณาจารย์ ตลอดจนเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางด้านการวิจัย

ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://biology.sci.sru.ac.th/urcb/urcb-2014/ พิเศษสำหรับนักศึกษาทุกสถาบันฟรีค่าลงทะเบียน

กำหนดการการประชุม

กำหนดการการประชุม

10 มีนาคม 2557
๐8.๐๐-๐8.3๐ น. ลงทะเบียน ณ ห้อง GA102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 8๐ พรรษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ชมวีดิทัศน์แนะนำมหาวิทยาลัย

๐8.3๐-๐9.๐๐ น.

พิธีเปิด ณ ห้อง GA102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 8๐ พรรษา

– ผศ.สมพร โตใจ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวรายงาน

– ผศ.ดร.ประโยชน์ คุปต์กาญจนากุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กล่าวเปิดงาน

๐9.๐๐-1๐.๐๐ น. การบรรยายพิเศษ เรื่อง “ชีวสารสนเทศและเทคนิคทางโมเลกุลสำหรับการพัฒนาวัคซีนโรคเลปโตสไปโรซีส” (Bioinformatics and Molecular Technique for Leptospirosis Vaccine Development) โดย อ.ดร.ศุภชัย นิติพันธ์ สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
1๐.๐๐-1๐.2๐ น. พักทานอาหารว่าง
1๐.2๐-12.๐๐ น. การนำเสนอผลงานวิจัยแบบบรรยาย ณ ห้อง GA102
12.๐๐-13.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.๐๐-15.2๐ น. การนำเสนอผลงานวิจัยแบบบรรยาย ณ ห้อง GA102
15.2๐-15.5๐ น. การนำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ ณ บริเวณโถง ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 8๐ พรรษา
15.5๐-16.๐๐ น. มอบรางวัลการนำเสนอผลการวิจัยยอดเยี่ยม ณ ห้อง GA102
16.๐๐-16.3๐ น. ประชุมกลุ่มย่อยเพื่อพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและงานวิจัย
11 มีนาคม 2557
๐9.๐๐-13.๐๐ น. **ทัศนศึกษาฟาร์มหอยนางรม “สินมานะฟาร์มสเตย์” ชมการสาธิตการเลี้ยงหอยนางรม หอยแมลงภู่ และหอยแครง การเก็บเกี่ยวและการบริโภค พร้อมรับประทานอาหารกลางวัน

**ผู้เข้าการร่วมประชุมที่สนใจเข้าร่วมการทัศนศึกษา สามารถแจ้งความประสงค์ในการขั้นตอนการลงทะเบียนเข้าร่วมงาน (ไม่เกินวันที่ 5 มีนาคม 2557) พร้อมโอนเงินค่าใช้จ่ายท่านละ 6๐๐ บาท

 

ขอเชิญเข้าร่วมฟังการสอบโครงงานทางชีววิทยา

ขอเชิญ เข้าร่วมฟังการสอบโครงงานทางชีววิทยาฃ

ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมฟังการสอบโครงงานทางชีววิทยาของนักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยา ชั้นปีที่ 4 ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ณ ห้อง sc 101 ชั้น 1 อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ ตั้งแต่เวลา ๐9.๐๐-16.๐๐ น. ในวันที่ 9, 16, 23 และ 3๐ มกราคม 2557

 

นักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยา ชั้นปีที่ 3 ศึกษาดูงาน

นักศึกษา สาขาวิชาชีววิทยา ชั้นปีที่ 3 ศึกษาดูงาน

นักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยา ชั้นปีที่ 3 ศึกษาดูงาน บ.วิจิตรภัณฑ์ปาล์มออยล์ จำกัด อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ และโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระหว่างวันที่ 16-18 ธันวาคม 2556

องค์ประกอบของรายงานฉบับสมบูรณ์

องค์ประกอบของรายงานฉบับสมบูรณ์

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์สำหรับการทำโครงงานทางชีววิทยามีส่วนประกอบสำคัญ 5 ส่วน ดังนี้

ก. ส่วนหน้า ส่วนหน้าของโครงการวิจัยทางชีววิทยาประกอบด้วยส่วนย่อยเรียงลำดับคือ ปกนอก ใบรองปก ปกใน หน้าอนุมัติ บทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพ ดังรายละเอียดในแต่ละส่วนดังนี้

1. ปกนอก ขนาดกระดาษ A4 ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ หน้าปกนอก สันปก และปกหลัง

1.1 หน้าปกนอก ประกอบด้วย 6 ส่วน ดังรายละเอียดดังนี้

  • 1.1.1 ตรามหาวิทยาลัย (แบบขาวดำ) วางห่างจากขอบกระดาษด้านบน 1.5 นิ้ว (ดาวน์โหลดไฟล์ตรามหาวิทยาลัยได้ที่เมนู “ดาวน์โหลดไฟล์”) โดยกำหนดขนาดรูปด้านสูง (height) เป็น 3.49 เซนติเมตร และด้านกว้าง (width) เป็น 2.78 ซม.
  • 1.1.2 ชื่อโครงงานวิจัยทางชีววิทยา วางถัดจากตรามหาวิทยาลัย ในกรณีที่ชื่อยาวให้จัดเป็น 2-3 บรรทัด โดยจัดวางแบบพิรามิดหัวกลับ
  • 1.1.3 ชื่อผู้เขียน มีเฉพาะชื่อและนามสกุล ยกเว้น หากมียศ ฐานันดรศักดิ์ ราชทินนามและสมณศักดิ์ให้ใส่ไว้ด้วย หากมีผู้เขียนหลายคนให้เรียงลำดับตามตัวอักษร โดยพิมพ์บรรทัดละคน
  • 1.1.4 (ข้อความ) โครงงานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา
  • 1.1.5 (ข้อความ) มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี
  • 1.1.6 ปี พ.ศ. ที่อนุมัติโครงงานวิจัยทางชีววิทยา โดยให้เขียนเฉพาะตัวเลข
1.2 สันปก ระบุ ชื่อเรื่อง และปีที่อนุมัติโครงงาน โดยข้อความเหล่านี้วางยาวตามสันปก ในกรณีที่ชื่อยาวให้จัดเป็น 2 บรรทัด โดยจัดวางแบบพิรามิดหัวกลับ
1.3 ปกด้านหลัง ต้องไม่มีข้อความใดๆ
2. ใบรองปก กระดาษว่าง 1 แผ่น
3. ปกใน พิมพ์ข้อความเหมือนกับหน้าปกนอก
4. หน้าอนุมัติ ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ตามลำดับ ดังนี้ พิมพ์ข้อความหนากลางหน้ากระดาษว่า “ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี”
ชื่อโครงงานวิจัย
ชื่อผู้วิจัย พร้อมคำนำหน้า หากมียศ ฐานันดรศักดิ์ ราชทินนาม สมณศักดิ์ ให้ใส่ไว้ด้วย
คณะกรรมการที่ปรึกษาและคณะกรรมการสอบ มีลายมือชื่อและรายนามของคณะกรรมการสอบโครงงานวิจัยทางชีววิทยา ซึ่งประกอบด้วย ประธานที่ปรึกษาโครงงาน กรรมการที่ปรึกษาโครงงาน และกรรมการสอบโครงงาน โดยเรียงลงมาตามลำดับ
5. บทคัดย่อ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
5.1 ข้อมูลโครงงานวิจัยทางชีววิทยา ประกอบด้วยหัวข้อเรียงลำดับดังนี้
  • ชื่อโครงงานวิจัย
  • ชื่อผู้วิจัย
  • ปีที่สำเร็จการศึกษา
  • ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
5.2 เนื้อหาบทคัดย่อ คือ การสรุปเนื้อหาโครงงานวิจัยทางชีววิทยาที่กระชับ ชัดเจน ครอบคลุมปัญหา วัตถุประสงค์ขอบเขตการวิจัย วิธีการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือ อุปกรณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ผลการวิจัย สรุปและข้อเสนอแนะ
6. กิตติกรรมประกาศ เป็นข้อความกล่าวขอบคุณผู้ที่มีส่วนสนับสนุนช่วยเหลือและให้ความร่วมมือในการทำและเขียนรายงาน ให้พิมพ์คำว่า “กิตติกรรมประกาศ” ไว้กลางหน้ากระดาษ โดยเนื้อหาไม่ควรยาวเกิน 1 หน้า และให้พิมพ์ชื่อผู้เขียนไว้ท้ายข้อความ มีเฉพาะชื่อและนามสกุล ยกเว้น หากมียศ ฐานันดรศักดิ์ ราชทินนาม สมณศักดิ์ ให้ใส่ไว้ด้วย ตามด้วยเดือนและปีที่เขียน
7. สารบัญ เป็นรายการของส่วนประกอบสำคัญทั้งหมดของโครงงานวิจัยทางชีววิทยา นับตั้งแต่หน้าอนุมัติถึงหน้าสุดท้ายของรายงาน โดยมีเลขหน้ากำกับแต่ละส่วนที่เรียงตามลำดับของเนื้อหาในเล่มโครงการวิจัยทางชีววิทยา โดยพิมพ์คำว่า “สารบัญ” ไว้กลางหน้ากระดาษ หากไม่สามารถพิมพ์จบในหน้าเดียวกันได้ให้ขึ้นหน้าใหม่และพิมพ์คำว่า “สารบัญ (ต่อ)”
8. สารบัญตาราง (ถ้ามี) เป็นส่วนที่แสดงรายการชื่อตารางทั้งหมดในรายงานโครงงานวิจัยทางชีววิทยา ทั้งในส่วนเนื้อเรื่องและในภาคผนวก โดยจัดเรียงตามลำดับตามเลขที่ของตารางและเลขหน้าตารางนั้นที่ปรากฏ โดยพิมพ์คำว่า “สารบัญตาราง”กลางหน้ากระดาษหากไม่สามารถพิมพ์จบหน้าเดียวให้ขึ้นหน้าใหม่และพิมพ์คำว่า “สารบัญตาราง (ต่อ)”
9. สารบัญภาพ (ถ้ามี) เป็นรายการระบุชื่อและตำแหน่งหน้าของภาพประกอบทั้งหมดในรายงานโครงงานวิจัยทางชีววิทยา เช่น ภาพถ่าย แผนภูมิ กราฟ แผนฝัง โดยพิมพ์คำว่า “สารบัญภาพ” กลางหน้ากระดาษหากไม่สามารถพิมพ์จบหน้าเดียวให้ขึ้นหน้าใหม่และพิมพ์คำว่า “สารบัญภาพ (ต่อ)”
ข. เนื้อเรื่อง
เนื้อเรื่องของโครงงานวิจัยทางชีววิทยา แบ่งออกเป็น 5 บท รายละเอียด ประกอบด้วยบทต่างๆ ดังนี้
บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย
  • 1.1 ที่มาและความสำคัญ กล่าวถึงภูมิหลังความเป็นมา เพื่อนำไปสู่ปัญหาในการทำวิจัย ตลอดจนความสำคัญของการวิจัย
  • 1.2 วัตถุประสงค์ ระบุวัตถุประสงค์ของการวิจัยอย่างชัดเจน หากมีมากกว่า 1 ข้ออาจลำดับข้อย่อยเป็น 1.2.1 , 1.2.2, …… ตามำลำดับ โดยเรียงตามลำดับความสำคัญ
  • 1.3 ขอบเขตการวิจัย ระบุขอบเขตของเนื้องานที่ทำการศึกษาให้ครอบคลุมและชัดเจน อาจแยกลำดับเป็นข้อ โดยเรียงลำดับตามความสำคัญ หรือเขียนเป็นร้อยแก้วใน 1 ย่อหน้าก็ได้
  • 1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ อธิบายถึงคุณค่าและประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัย โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ด้านคือ ด้านที่จะได้ความรู้เพิ่มขึ้นจากการวิจัยว่าเกิดหลักการหรือทฤษฎีใหม่อะไรบ้าง และด้านที่จะนำความรู้ที่ค้นพบจากการวิจัยไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานอะไรบ้าง
  • 1.5 คำจำกัดความ (ถ้ามี) เป็นหัวข้อที่อธิบายความหมายของคำศัพท์ที่เป็นคำหลักในการวิจัย โดยให้ความหมายเฉพาะในบริบทของการวิจัยนั้นๆ เพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจความหมายของคำศัพท์ต่างๆ
  • 1.6 สัญลักษณ์ คำย่อ และตัวย่อ (ถ้ามี) เพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจและความสะดวกในการจัดพิมพ์เอกสารโดยไม่ต้องพิมพ์คำเต็มซ้ำหลายๆ ครั้ง
บทที่ 2 การตรวจเอกสาร คือการสรุปความเป็นมา ความสำคัญ ข้อมูล วิธีการวิจัย และผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงงานเรื่องนั้น มีการอ้างอิงเอกสารที่เกี่ยวข้อง อาจแบ่งหัวข้อย่อยเป็น 2.1, 2.2, ……. ตามลำดับ
บทที่ 3 วิธีการศึกษา คือส่วนที่แสดงถึงวัสดุและอุปกรณ์ เครื่องมือในห้องปฏิบัติการต่างๆ อาจมีรูปภาพหรือแผนภาพแสดงอุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ และอธิบายวิธีการวิจัย การเก็บตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง ช่วงเวลาที่เก็บตัวอย่าง การทดลองอย่างชัดเจนเป็นขั้นตอนตามลำดับระบุการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติ โปรแกรมทางสถิติที่ใช้ โดยแบ่งเป็นข้อย่อยซึ่งประกอบไปด้วย
  • 3.1 อุปกรณ์และเครื่องมือ
  • 3.2 วัสดุและสารเคมี
  • 3.3 วิธีการทดลอง

 

บทที่ 4 ผลและวิจารณ์ผลการทดลอง เสนอผลการวิจัยโดยละเอียดตามลำดับหัวข้อของการทดลอง การเสนออาจเป็นแบบบรรยายหรือใช้ตารางหรือภาพประกอบ ส่วนการวิจารณ์ผลการทดลองเป็นการอธิบายหรือตีความหมายผลการวิจัยให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น โดยให้เหตุผลแก่การทดลองนำแนวคิด ทฤษฎีและผลการวิจัยมาสนับสนุน วิเคราะห์เปรียบเทียบกับผลการทดลองอื่นๆ ในด้านเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เพื่อดูความแตกต่างและความเหมือนเพื่อหาข้อมูลมาสนับสนุนเป็นการเพิ่มคุณค่าในการนำไปใช้ประโยชน์
บทที่ 5 สรุปผลการทดลอง เป็นการอธิบายสั้นๆ ว่าในการวิจัยหรือการศึกษาได้พบอะไรบ้างที่เป็นจุดเด่นที่สำคัญ อาจมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมได้ โดยให้แยกเป็น
  • 5.1 สรุปผลการทดลอง
  • 5.2 ข้อเสนอแนะ
ค. เอกสารอ้างอิง
อ้างอิงท้ายเล่ม เป็นการรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดที่ผู้เขียนได้ใช้อ้างอิงในการเขียนรายงานโครงงานวิจัย การรวบรวมเป็นรายการบรรณานุกรมหรือรายการเอกสารอ้างอิงขึ้นกับการพิจารณา ซึ่งมีข้อแตกต่างกันคือ
  • บรรณานุกรม จำนวนรายการเอกสารที่อ้างอิงในส่วนนี้อาจมีมากกว่าจำนวนที่ถูกอ้างอิงไว้ในส่วนเนื้อเรื่อง หากผู้เขียนพิจารณาว่าเอกสารเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับงานวิจัยและใช้เป็นประโยชน์
  • เอกสารอ้างอิง รวบรวมเฉพาะรายการที่ถูกอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่องเท่านั้น ดังนั้นจำนวนรายการอ้างอิงในส่วนท้ายต้องมีจำนวนเท่ากับจำนวนรายการที่ถูกอ้างอิงไว้ในเนื้อเรื่อง
สำหรับรายงานโครงงานวิจัยทางชีววิทยาให้นักศึกษาใช้รายการอ้างอิงท้ายเล่มเป็นแบบ “เอกสารอ้างอิง” เท่านั้น ส่วนรูปแบบการเขียนให้ดูใน “รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงท้ายเล่ม”

ง. ภาคผนวก
เป็นส่วนที่ให้รายละเอียดเพิ่มเติม เช่น ตารางบันทึกข้อมูล รูปภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เช่น แบบสอบถาม แบบทดสอบ เป็นต้น การจะมีภาคผนวกหรือไม่ขึ้นกับความเหมาะสม หากมีให้เริ่มภาคผนวกในหน้าถัดจากเอกสารอ้างอิง โดยมีข้อความ “ภาคผนวก” อยู่ตรงกลางหน้ากระดาษส่วนกลาง  รายละเอียดในภาคผนวกให้แสดงในหน้าถัดไป อาจแบ่งเป็นภาคผนวกย่อย ให้ลำดับโดยใช้พยัญชนะไทย เช่น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค เป็นต้น

การพิมพ์และจัดรูปแบบเล่มรายงาน

การพิมพ์และจัดรูปแบบเล่มรายงาน

รูปแบบการพิมพ์ทั้งข้อเสนอโครงการวิจัยและรายงานวิจัยทางชีววิทยา ของสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีข้อกำหนดดังนี้

1. ตัวพิมพ์

ตัวอักษรที่ใช้พิมพ์ในเล่มเป็นชนิด TH Niramit AS (ดาวน์โหลดได้จาก http://www.f0nt.com/release/13-free-fonts-from-sipa/) สีดำ คำชัด และต้องใช้แบบเดียวกันตลอดทั้งเล่ม โดยใช้อักษรขนาดต่างกันในลักษณะดังนี้

  • บทที่ ใช้ขนาดตัวอักษร 20 point ตัวหนา
  • หัวข้อสำคัญ ใช้ขนาดตัวอักษร 18 point ตัวหนา
  • หัวข้อย่อย ใช้ขนาดตัวอักษร 16 point ตัวหนา
  • ตัวพื้นของการพิมพ์ทั้งเล่ม ใช้ขนาดตัวอักษร 16 point ตัวธรรมดา

2. กระดาษพิมพ์

เป็นกระดาษสีขาวไม่มีบรรทัด ขนาดมาตรฐาน A4 หนา 70-80 แกรม พิมพ์เพียงหน้าเดียว

3. การเว้นที่ว่าง

3.1 การเว้นที่ว่างริมขอบกระดาษ กำหนดให้เว้นขอบกระดาษทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ ขอบกระดาษด้านบน 1.5 นิ้ว ขอบกระดาษด้านซ้ายมือ 1.5 นิ้ว ขอบกระดาษด้านขวามือและขอบกระดาษด้านล่าง 1 นิ้ว

3.2 การกำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัด ระยะห่างระหว่างบรรทัดตัวพื้นของการพิมพ์ทั้งเล่มให้เว้นระยะห่างระหว่างบรรทัด “หนึ่งเท่า” ส่วนหัวข้อสำคัญให้เว้นระยะห่างก่อนและหลัง 12 point และหัวข้อย่อยให้เว้นระยะห่างก่อนและหลัง 6 point

4. การย่อหน้า

สำหรับบรรทัดแรกให้เว้นระยะตัวอักษรจากแนวขอบข้อความด้านซ้ายมือหรือย่อหน้า 1.3 เซนติเมตร หากต้องการย่อหน้าย่อยลงมาอีกให้ย่อหน้าห่างจากย่อหน้าหลักครั้งละ 0.4 เซนติเมตร พร้อมทั้งจัดแนวข้อความ “กระจายแบบไทย”

5. การลำดับหน้าและการพิมพ์เลขหน้า

5.1 ส่วนหน้า การลำดับหมายเลขหน้า “ส่วนหน้า” ของรายงานวิจัยให้เริ่มนับตั้งแต่หน้าอนุมัติไปถึงหน้าสุดท้ายก่อนถึงส่วน “เนื้อเรื่อง” โดยให้ใช้ตัวอักษรภาษาไทย โดยพิมพ์ไว้ที่มุมบนขวามือห่างจากขอบกระดาษด้านบนตรงกับแนวขอบข้อความขวามือ

5.2 ส่วนเนื้อเรื่อง การลำดับหมายเลขหน้าส่วน “เนื้อเรื่อง” เป็นต้นไป ให้ใช้ตัวเลขอารบิค 1, 2, 3, … ตามลำดับ โดยพิมพ์ไว้ที่มุมบนขวาตรงกับแนวขอบข้อความขวามือ ยกเว้นหน้าแรกของแต่ละบทและหน้าที่พิมพ์คำว่า “ภาคผนวก” ไม่ต้องพิมพ์การลำดับเลขหน้า

6. การพิมพ์บท

บทที่จะต้องขึ้นหน้าใหม่เสมอ และมีเลขประจำบท โดยพิมพ์ไว้ตรงกลางตอนบนของหน้ากระดาษ ส่วนชื่อบทให้พิมพ์กลางหน้ากระดาษในบรรทัดถัดลงมา

กำหนดการรับสมัครนักศึกษาใหม่ปีการศึกษา 2557

กำหนดการรับสมัครนักศึกษาใหม่ปีการศึกษา 2557

สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ประจำปีการศึกษา 2557

รับตรง

สมัครออนไลน์ผ่านเว็ปไซต์ (http://regis.sru.ac.th/cotra57/)

กลุ่มภาคีมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคใต้

จำหน่ายเอกสารวันที่ 21 มกราคม – 21 มีนาคม 2557 และเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 17-21 มีนาคม 2557

อาจารย์สาขาวิชาชีววิทยาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์

อาจารย์สาขาวิชาชีววิทยาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์

สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ ดร.ชลินดา อริยเดช อาจารย์ประจำสาขาวิชาชีววิทยา เนื่องในโอกาสที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแแหน่งทางวิชาการ “ผู้ช่วยศาสตราจารย์”

โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลินดา อริยเดช สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาพืชศาสตร์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนชีววิทยา (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาชีววิทยา (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)

สาขาวิชาชีววิทยาร่วมจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

สาขาวิชา ชีววิทยาร่วมจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (ส่วนภูมิภาค) ประจำปี 2556 ระหว่างวันที่ 18-20 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา ณ บริเวณอาคารทีปังกรรัศมีโชติ ภายใต้หัวข้อ “มรส. ทันโลก ทันวิทย์ จุดประกายความคิดสู่อาเซียน”

โดยนักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยาชั้นปีที่ 1-4 ได้ร่วมจัดกิจกรรมนิทรรศการทางวิชาการใน 4 หัวข้อหลักได้แก่ การกำจัดและควบคุมปริมาณไนโตรเจนในระบบเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบหมุนเวียน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์ท้องถิ่นหายาก ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรขมิ้นชัน และผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์ เช่น ไวน์ ซาลาเปา เป็นต้น โดยมีผู้สนใจได้แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปเข้าชมนิทรรศการจำนวนมาก

องค์ประกอบของรายงานวิชาสัมมนาชีววิทยา

องค์ประกอบของรายงานวิชาสัมมนาชีววิทยา

ในการเขียนรายงานสัมมนา ต้องเขียนแต่ละส่วนเรียงลำดับต่อเนื่องไปดังนี้

ชื่อเรื่อง (Title)

  • เพื่อให้ผู้อ่านพิจารณาว่าเป็นเรื่องที่กำลังสนใจหรือเกี่ยวข้องกับ สิ่งที่ตนสนใจ หรือช่วยเพิ่มสิ่งใหม่ๆให้กับตนหรือไม่
  • เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าเป็นเรื่องที่เขียนขึ้นใหม่ไม่ใช่เรื่องที่คัดลอกมาหรือเรื่องแปล
  • ใช้ในการอ้างอิงหากผู้อ่านต้องการนำแนวคิดหรือส่วน ใดๆในสัมมนาไปใช้ รวมทั้งในกรณีที่ผ่านมีข้อแย้งหรือความเห็นอื่น

ชื่อผู้สัมมนา (Author)

  • เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าใครเป็นผู้เขียนและสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้

บทคัดย่อ (Abstract)

  • เพื่อให้ผู้อ่านทราบงานเขียนทั้งหมดอย่างคร่าวๆช่วยให้ผู้อ่านตัดสินใจได้ดีขึ้นว่าควรแก่การพลิกอ่านต่อไปหรือไม่

คำสำคัญ (Keywords)

  • เป็นคำที่แสดงถึงจุดเด่นของเรื่องที่เราเขียน คำสำคัญจะทำให้ทราบถึงประเด็นของรายงานนั้นได้อย่างคร่าวๆ ในปัจจุบัน คำสำคัญ มีความสำคัญต่อการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูล เช่น CD-ROM โดยทั่วๆ ไป คำสำคัญมักจะเขียนต่อจากบทคัดย่อในเอกสารทางวิชาการ ทั่วๆไปมักจะแสดงคำสำคัญไว้ ประมาณ 4-5 คำ

คำนำ (Introduction)

  • ใช้ในการบอกความเป็นมาของการเขียนสัมมนาครั้งนี้
  • ช่วยบอกงานที่เคยทำมามีปัญหาและอุปสรรคอย่างไร
  • บอกวัตถุประสงค์ในการเขียนสัมมนาเรื่องนี้

เนื้อเรื่อง (Body)

  • อธิบายประเด็นย่อยต่างๆที่เกี่ยวข้องมีการวิเคราะห์จัดแยกกลุ่มความคิดในทางเดียวกันและตรงข้ามมีแหล่งอ้างอิงแนวคิดสนับสนุนแต่ละประเด็น โดยรวบรวมสรุปและสังเคราะห์ข้อมูลให้เป็นไปตามสิ่งที่กำลังนำเสนอ

สรุป (Conclusion)

  • สรุปงานเขียนครั้งนี้ได้เด่นชัด โดยสอดคล้องกับชื่อเรื่อง 15

เอกสารอ้างอิง (References)

  • ระบุแหล่งข้อมูลที่นำมาอ้างอิง เชื่อใจได้ว่าไม่ได้เอ่ยขึ้นเองอย่างเลื่อนลอย
  • สามารถนำไปสืบค้นข้อมูลต่อได้ในกรณีที่ผู้อ่านต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มขึ้น

กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgment)

  • เป็นคำขอบคุณให้กับ ผู้ที่ช่วยเหลือ หรืออำนวยความสะดวกแก่เราในการปฏิบัติการเขียนครั้งนี้ ทั้งนี้อาจมีหรือไม่มีก็ได้ โดยทั่วไปนิยมวางไว้ก่อนเอกสารอ้างอิง